สุจินต์ สิมารักษ์
ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน
ประวัติและผลงาน

­

­

­

­

­

­

­

­

­

­


ความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานด้านเด็กและเยาวชน

การที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ลงมาแล้วทำงานเรื่องเด็กและเยาวชน โดยใช้กระบวนการวิจัย CBR (Community Based Research) เป็นการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง หลังจากทำไปได้ระยะหนึ่งประมาณ 2 ปี เห็นว่า มีประโยชน์และต้องการจะขยายในภาพรวม หากเราใช้นักถักทอ (นักถักทอชุมชน หมายถึงบุคลากรอปท.ที่เข้ารับการอบรมภายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 2 : หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว) ที่เป็นโครงสร้างของรัฐด้วย เขาน่าจะอยู่ที่นี่นาน เราต้องอาศัยเขาเป็นผู้ขยาย นี่เป็นความสำคัญของเขา เขาจึงต้องเป็นพี่เลี้ยงแทนพวกเรา หากในอนาคตมีความต้องการขยายทั้งจังหวัด อบต.อื่น อำเภออื่นอยากทำเช่นเดียวกัน จะเกิดเป็นกระแสทางสังคมขึ้น

เราต้องการให้การเคลื่อนไหวฐานรากนี่เข้าไปสู่ระบบสังคมและเศรษฐกิจมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การทำให้นักถักทอเป็นพี่เลี้ยงเอง ต้องคุยกันว่า ในหลักการ เขามีทุนอะไร เราวิเคราะห์แล้ว พบว่าเขามีทุนอยู่มากพอสมควร แม้จะมีคนใหม่มือใหม่แต่ก็มีมือเก่าที่มีทุนมาก ฉะนั้น เราจึงออกแบบการฝึกตรงนี้ให้เป็นนักถักทอ เรียกว่าฝึกก็ไม่ใช่นัก ภาษาอังกฤษว่าเป็น Learning workshop ให้เกิดการเรียนรู้ไป ปฏิบัติไปและทำไป โดยเราเอาทุนเดิมของเขามาทบทวน แล้วดูว่า การเติมเต็มของเขามีอะไรบ้าง แล้วเราก็เติมเต็มอย่างไร ขณะนี้เราเห็นภาพแล้วว่าเขามีศักยภาพ มีบางส่วนที่เราต้องเติมเต็ม เรื่องทักษะ ความรู้ และอยากทำต่อหรือไม่ทำต่อ ทั้ง 3 ส่วนนี้หากเราสามารถทำให้เขามามาสู่ระบบการเป็นพี่เลี้ยงได้อย่างที่เราคิดปีแรกอาจติดขัดอยู่บ้าง แต่หากทำซ้ำสักครั้งหนึ่งผมคิดว่า เขาไปได้ ถ้าเผื่อเขาไปได้แล้ว ตอนนี้คิดว่าการขยายงานของ จ.สุรินทร์จะไปได้ง่ายกว่า เพราะตรงนี้จะเป็นตัวคุม เราก็เห็นความสำคัญ ผมกับทีมคุยกันว่าตรงนี้เป็นงานสำคัญ ต้องมาช่วยกัน และยังมีเงินสนับสนุนของ อปท.เองด้วย ซึ่งสามารถที่จะมีเงินสนับสนุนเข้ามา ฉะนั้น มีทั้งคนและเงิน ขาดเพียงกระบวนการความรู้และเทคนิค ถ้าเราเอาตรงนี้เข้าไปเสริมน่าจะเป็นพลังขยายตัวได้

ฝากเรื่องการเป็นพี่เลี้ยงวิจัย ความสำคัญที่จะพัฒนาท้องถิ่นทุกวันนี้

เด็กและเยาวชนของโครงการเราเป็นเด็กและเยาวชนที่เข้าไม่ถึงการศึกษาในระบบและมีเด็กในระบบส่วนหนึ่ง เด็กเหล่านี้ขาดทักษะ ต้องการอาชีพและต้องการอยู่กับชุมชนอย่างกลมกลืน แทนที่จะเป็นภาระ ถ้าเราใช้กระบวนการตรงนี้เข้าไป แล้วเด็กปรับตัวจากการเป็นภาระสังคม กลับเป็นผู้ทำให้สังคมได้รับบริการจากเขาด้วยและตัวเขาเองก็สามารถทำเป็นอาชีพได้ด้วย ตรงนี้ เป็นอานิสงค์ที่ดีสำหรับประเทศชาติ เนื่องจากที่เราบอกว่า เป็นช่องว่าง เด็กพวกนี้เป็นส่วนสำคัญต่อประเทศไทย ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่สังคมวัยชรา หากเราไม่เตรียมคนในชุมชน ในประมาณ 10 ปีข้างหน้า เปอร์เซ็นต์คนชราจะมากกว่านี้อีก ตอนนี้ประมาณ 14% เด็กพวกนี้หากมีอาชีพ พึ่งตนเองได้และคิดว่า สังคมเป็นภาระที่เขาจะต้องดูแล นี่เป็นประโยชน์ระยะยาวที่จะเกิดขึ้น

Interview : จากเวทีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการTOT ทบทวนและยกระดับสมรรถนะของพี่เลี้ยงวิจัย 5 อปท. จังหวัดสุรินทร์ภายใต้การดำเนินงานของโครงการพัฒนาเยาวชนในชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค ระยะที่ 3 : ขับเคลื่อนกลไกเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยหลักการจัดการความรู้และกระบวนการวิจัย เฟรส 2 สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) .องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างวันที่ 17 - 21 กรกฎาคม 2562 ณ เรือนกะยอมเฮาส์แอนด์รีสอร์ท อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี


ติดตามกิจกรรมขับเคลื่อนเวทีได้ที่นี่


Interview รศ.สุจินต์.pdf